รูปทรงของเม็ดมีดงานกลึง

ช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่ละอุตสาหกรรมเหมือนถูกโคขวิดตามๆกันไป แต่ก็ทำให้หลายๆคนเริ่มมีเวลาทบทวนสิ่งที่ตนเองทำมาในแต่ละวันที่เร่งรีบ ว่ามีอะไรที่น่าจะปรับเปลี่ยน อะไรที่น่าจะเพิ่มเติม หรืออะไรที่ไม่น่าจะทำมันต่อ บทความแนววิชาการอันนี้ เริ่มจากที่อยากจะทำ แล้วตามมาด้วยเหตุผลมากมายที่ยกมาอ้างเพื่อไม่ทำต่อ ทั้งด่าทอตัวเองไปแล้วก็หลายครั้งให้ทำๆ เมื่อย้อนไปดูสถิติการเข้าถึงของบทความเก่าๆที่เขียน ปรากฎว่ามีผู้คนเข้ามาเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ไปโปรโมทอะไรเลย นอกจากเขียนในสิ่งที่รู้ เพื่อให้ทุกคนในรู้ในสิ่งที่เขียน จึงเกิดแรงฮึดใหม่ ตั้งใจว่าช่วงโคขวิดนี้ จะเขียนให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 บทความ เพื่อเปลี่ยนนิสัยตนเองให้สามารถเขียนแบบสม่ำเสมอไปได้ตลอดในอนาคต

Continue reading

ความเรียบผิวงาน

20151228_064105.jpgวันนี้เรามารู้จักความเรียบผิวกัน ต่อเนื่องมาจากอัตราป้อนมีดที่พูดถึงการกลึงหยาบและละเอียด ถ้าเราเอาแบบง่ายๆก็คือเวลาเรากลึงหยาบๆ มันก็น่าจะได้ผิวที่หยาบๆ ซึ่งก็ตรงข้ามกับการกลึงละเอียดก็ได้ผิวงานที่เรียบสวย แต่ถ้าจะลงลึกๆในรายละเอียดก็ติดตามอ่านดูนะครับ Continue reading

ปัจจัยการกลึง (อัตราป้อนมีด และระยะกินลึก)

เราได้รู้ปัจจัยตัวแรกคือความเร็วตัดไปแล้ว วันนี้เรามาแบบแพ็คคู่ เพราะว่าปัจจัยทั้งสองตัวนี้มักมาคู่กัน แบบไม่ได้บังคับ นั่นคืออัตราป้อนมีด และระยะกินลึก ซึ่งจะผูกโยงไปถึงการกลึงหยาบและกลึงละเอียด จาก ตัวเลขของทั้ง 2 ปัจจัยนี้ เรามาดูกันครับว่าคืออะไร Continue reading

เครื่องมือตัดเฉือนโลหะทางกล

Multifunctional-apple-peeler-fruit-peeler-three-in-one-apple-peeling-machine-peeled-to-the-core-sectionเกริ่นว่าจะทำ blog ความรู้เรื่องเครื่องมือตัดมานาน จนแล้วจนรอดก็ยังทำแบบครึ่งๆกลางๆ(มีข้ออ้างสารพัดเรื่องเวลา) จึงคิดว่าต้องลงมือทำมันแบบจริงๆจังๆ เลยถือเอาฤกษ์วันที่ 9 เดือน 9 เวลา 09:09 เป็นจุดเริ่มต้น (เลขมงคล)

คำว่า “เครื่องมือตัด” หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Cutting Tools นั้น มันสื่อความหมายได้กว้างมาก เพราะว่าเครื่องมืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถตัดงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้(ด้วยเลื่อย) ตัดเต้าหู้(ด้วยมีด) หรือตัดเหล็ก(ด้วยเม็ดมีด, มีดเล็บ) ก็สามารถเรียกเป็นเครื่องมือตัดได้ แล้วอย่างนี้จะเริ่มกันตรงไหนดี Continue reading