รหัสเม็ดมีดมาตรฐาน ISO #1

จากที่เราได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงของเม็ดมีดมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปทรงเม็ดมีดสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงด้านข้าง ที่เราเรียกกันว่าเม็ดมีดบวก(มีมุมหลบ) หรือเม็ดมีดลบ และอีกมากมายที่ได้รู้กันไปแล้วบ้าง ทั้งหมดก็จะปรากฏอยู่ในรหัส ISO ของเม็ดมีดที่ผู้ผลิตเม็ดมีดงานกลึงทุกเจ้าทำข้อตกลงร่วมกันไว้ วันนี้เราจึงจะมาเรียนรู้กันเรื่องการอ่านรหัส ISO ของเม็ดมีด ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบได้คร่าวๆว่าการใช้เม็ดมีดนั้นถูกต้องในเบื้องต้นแค่ไหน

รหัสเม็ดมีดนั้นจะประกอบไปด้วยตัวอักษร 4 ตัว และตามด้วยตัวเลข 6 หลัก และจบลงที่ ตัวอักษรหรือตัวเลข เราจะมาเรียนรู้กันถึงความหมายของแต่ละตัวกัน

ตัวอักษรแรกจะเป็นการบอกถึงรูปทรงของเม็ดมีด ตามที่ได้กล่าวไปตอนที่แล้ว อย่างเช่น T คือรูปทรงสามเหลี่ยม S คือรูปทรงสี่เหลียมจัตุรัส เป็นต้น อ้างอิงได้ตามตารางข้างบน

ที่เจอในตลาดบ่อยๆก็จะเป็นทรงเม็ด C, D, V, R, S, T, W ครับ

มาต่อกันกับตัวอักษรที่สอง ก็คือมุมหลบ หรือที่กล่าวไปก่อนหน้าว่าเม็ดมีดลบ กับเม็ดมีดบวก (ซึ่งเป็นเม็ดมีที่มีมุมหลบ)
N คือ Negative เม็ดมีดมุมลบ มีอันเดียว
ส่วนเม็ดมีดมุมบวก Postive นั้น ขึ้นกับองศามุมหลบ ตามตารางข้างบนเลยครับ
ที่เจอกันบ่อยๆในตลาดเม็ดมีดงานกลึงแบบมุมบวก ก็จะเป็น B 5องศา, C 7องศา และ P 11องศา

ตัวอักษรถัดมา คือค่าเผื่อของเม็ดมีด ซึ่งจะมีหลักๆ 3 จุดที่จะคุม และตรวจสอบโดยผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน นั่นก็คือขนาดวงกลมภายในของแต่ละรูปทรง (IC) ขนาดความหนา (S) และขนาดระยะถึงปลายมุมมนเม็ดมีดตั้งฉากกับเส้นสัมผัสวงกลม (m)

สำหรัยตลาดเม็ดมีดงานกลึงก็จะมีหลักๆอยู่ 3 ตัวที่ใช้ M, G และ E ถ้าให้จำกันง่ายๆ ก็คือ
M = Mould คือออกจากแม่พิมพ์มาดังนั้นขนาดจะหยาบ มีระยะเผื่อกว้าง
G = Grind คือมีการเจียรเก็บระยะเผื่อให้แคบลง เหมาะกับการเก็บละเอียด
E = Excellent อันนี้สำหรับงานที่เน้นความเที่ยงตรงสูง เพราะจะคุมระยะความสูงเม็ดละเอียดขึ้นมาก จากปกติ +/-0.13 เป็น +/-0.025

ตัวอักษรสุดท้ายจะเป็นการบอกถึงรูปทรงเพิ่มเติมของเม็ดมีด อย่างเช่น มีรูตรงกลางไหม บ่ารูเป็นแบบไหน มีร่องหักเศษไหม (ไว้จะมาพูดในโอกาสถัดๆไป) ลองดูตัวอย่างภาพรวมครับ

สำหรับเม็ดมีดที่ไม่มีรู การจับยึดก็จะเป็นแบบ Clamp ซึ่งก็จะมี N หน้าเรียบ กับ R มีลายร่องหักเศษ
ส่วนเม็ดมีดที่มีรูและบ่ารู ก็จะจับยึดด้วยสกูร ที่เจอบ่อยๆก็ W หน้าเรียบ กับ T มีลายร่องหักเศษ
ถัดมาสำหรับเม็ดมีดที่มีรูแต่ไม่มีบ่ารู ซึ่งจะจับยึดด้วยระบบ Level Lock ก็จะมี A หน้าเรียบกับ G มีลายร่องหักเศษทั้ง 2 ด้าน (ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นเม็ดมีดลบ)

วันนี้ขอจบที่ตัวอักษร 4 ตัวก่อน จะได้ไม่เยอะเกินไป ค่อยๆเรียนรู้พื้นฐานกันไป ในครั้งหน้าจะมาขยายความต่อเรื่อง ตัวเลข 6 หลัก ซึ่งออกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 2 หลัก จากข้อมูลที่เราเพิ่งเรียนรู้กันมา ทำให้เราพอจะเดาถึงด้ามมีด และลักษณะการใช้งานงานคร่าวๆได้กันเลยครับ อย่างเช่น CNGN ก็จะเป็นเม็ดมีดมุมลบทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 80องศา ไม่มีรู และหน้าเรียบทั้งสองด้าน และด้ามที่ใช้งานก็จะเป็นแบบ Clamp ยึด (น่าจะเป็นงานปอกหยาบวัสดุที่เป็นจำพวกเหล็กหล่อ หรืองานชุบแข็ง) อีกสักตัวนะครับ DPET ก็จะเป็นเม็ดมีดทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน 55 องศา เป็นเม็ดมีดมุมลบที่มีมุมหลบ 11องศา และคุมขนาดเม็ดมากอย่างดี มีรูและบ่ารู พร้อมร่องหักเศษ ด้ามที่ใช้ก็จะเป็นการจับยึดแบบสกูร (น่าจะเป็นงานเก็บละเอียดที่มีความละเอียดของค่าเผื่อสูง) เห็นไหมครับมันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้มากขึ้นเมื่อเรารูที่มาที่ไปของรหัสเม็ดมีด

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.