เรามาต่อกันกับตัวอักษรชุดสุดท้ายของรหัสเม็ดมีด ISO ที่เป็นตัวระบุประเภทของร่องคายเศษ (Chip Breaker) ถ้าแปลให้ตรงตัวเลย Chip ก็คือเศษจากการกลึง ไส ส่วน Breaker คือ การหัก สรุปรวมความเป็น การหักเศษที่เกิดจากการกลึง ไส (ต่อไปจะเรียก ร่องคายเศษ) ซึ่งมีจุดประสงค์ เพื่อช่วยหักเศษที่เกิดจากการตัดเฉือนวัสดุ บางวัสดุอย่างเหล็กเหนียว ถ้าเป็นหน้ามีดเรียบๆ เศษที่ได้จากการกลึงก็จะไหลยาวไม่หัก จนไปพันชิ้นงาน และสะบัดจนสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้
Continue readingรหัสเม็ดมีดมาตรฐาน ISO #2

มาต่อตอนที่สองของเรื่องรหัสเม็ดมีดกันเลยครับ เราๆท่านๆแม้นจะคุ้นชินกับการ เรียกรหัสเม็ดมีดนี้กันบ่อยๆ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายลึกซึ้งพอ ในตอนที่แล้วได้อธิบายไปถึงส่วนของตัวอักษรทั้ง 4 ที่อธิบายภาพรวมให้เราได้เห็นลักษณะของรูปทรงเม็ดมีด ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงอะไร มีดบวกหรือลบ มีลายร่องหักเศษไหม มีรูไหม แถมด้วยความละเอียดของการคุมขนาดเม็ดมีด ในส่วนครึ่งหลังนี้จะเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งแน่นอนก็น่าจะเป็นการอธิบายความให้เห็นถึงขนาดของเม็ดมีด เรามาดูไปพร้อมๆกันดีกว่าครับ
Continue readingรหัสเม็ดมีดมาตรฐาน ISO #1

จากที่เราได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงของเม็ดมีดมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปทรงเม็ดมีดสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงด้านข้าง ที่เราเรียกกันว่าเม็ดมีดบวก(มีมุมหลบ) หรือเม็ดมีดลบ และอีกมากมายที่ได้รู้กันไปแล้วบ้าง ทั้งหมดก็จะปรากฏอยู่ในรหัส ISO ของเม็ดมีดที่ผู้ผลิตเม็ดมีดงานกลึงทุกเจ้าทำข้อตกลงร่วมกันไว้ วันนี้เราจึงจะมาเรียนรู้กันเรื่องการอ่านรหัส ISO ของเม็ดมีด ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบได้คร่าวๆว่าการใช้เม็ดมีดนั้นถูกต้องในเบื้องต้นแค่ไหน
Continue readingรูปทรงของเม็ดมีดงานกลึง

ช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่ละอุตสาหกรรมเหมือนถูกโคขวิดตามๆกันไป แต่ก็ทำให้หลายๆคนเริ่มมีเวลาทบทวนสิ่งที่ตนเองทำมาในแต่ละวันที่เร่งรีบ ว่ามีอะไรที่น่าจะปรับเปลี่ยน อะไรที่น่าจะเพิ่มเติม หรืออะไรที่ไม่น่าจะทำมันต่อ บทความแนววิชาการอันนี้ เริ่มจากที่อยากจะทำ แล้วตามมาด้วยเหตุผลมากมายที่ยกมาอ้างเพื่อไม่ทำต่อ ทั้งด่าทอตัวเองไปแล้วก็หลายครั้งให้ทำๆ เมื่อย้อนไปดูสถิติการเข้าถึงของบทความเก่าๆที่เขียน ปรากฎว่ามีผู้คนเข้ามาเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ไปโปรโมทอะไรเลย นอกจากเขียนในสิ่งที่รู้ เพื่อให้ทุกคนในรู้ในสิ่งที่เขียน จึงเกิดแรงฮึดใหม่ ตั้งใจว่าช่วงโคขวิดนี้ จะเขียนให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 บทความ เพื่อเปลี่ยนนิสัยตนเองให้สามารถเขียนแบบสม่ำเสมอไปได้ตลอดในอนาคต
Continue readingเพิ่มเติมกับมุมมน R

เมื่อตอนที่แล้ว เราได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมุมมน กับความเรียบผิว ถ้ามุมมนใหญ่ก็จะได้ผิวเรียบ มุมมน R ก็คือจุดที่จะไปสัมผัสกับชิ้นงานตอนตัดขึ้นรูป มุมมน R เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เราจะต้องกำหนดเลือกขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน และวัสดุชิ้นงาน ดังนั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของมุมมน R กับปัจจัยต่างๆ เป็นสิ่งที่เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันครับ
Continue readingมุมมน R (Nose Radius)

ตอนที่แล้วเราพูดกันถึงความเรียบผิว และระหว่างนั้นก็มีปัจจัยตัวหนึ่งปรากฏออกมาว่ามีผลกับความเรียบผิว อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยนั้นก็คือ มุมมน R (Nose Radius) วันนี้เราก็จะมาเรียนรู้กันว่ามุมมน R คืออะไร และมีผลกับการกลึงในแง่มุมต่างๆมากน้อยขนาดไหน
Continue readingความเรียบผิวงาน
วันนี้เรามารู้จักความเรียบผิวกัน ต่อเนื่องมาจากอัตราป้อนมีดที่พูดถึงการกลึงหยาบและละเอียด ถ้าเราเอาแบบง่ายๆก็คือเวลาเรากลึงหยาบๆ มันก็น่าจะได้ผิวที่หยาบๆ ซึ่งก็ตรงข้ามกับการกลึงละเอียดก็ได้ผิวงานที่เรียบสวย แต่ถ้าจะลงลึกๆในรายละเอียดก็ติดตามอ่านดูนะครับ Continue reading
ปัจจัยการกลึง (อัตราป้อนมีด และระยะกินลึก)
เราได้รู้ปัจจัยตัวแรกคือความเร็วตัดไปแล้ว วันนี้เรามาแบบแพ็คคู่ เพราะว่าปัจจัยทั้งสองตัวนี้มักมาคู่กัน แบบไม่ได้บังคับ นั่นคืออัตราป้อนมีด และระยะกินลึก ซึ่งจะผูกโยงไปถึงการกลึงหยาบและกลึงละเอียด จาก ตัวเลขของทั้ง 2 ปัจจัยนี้ เรามาดูกันครับว่าคืออะไร Continue reading
ปัจจัยการกลึง (ความเร็วตัด)

ภาพจาก http://www.storylog.co
สวัสดีปีใหม่ครับเพื่อนๆ ผมได้ห่างหายไปนานกับการเขียนบทความเรื่องเครื่องมือตัด เพราะพอจะลงมือทำก็เหมือนมีอะไรมาขวางให้ต้องหยุด นั่งพูดพร่ำบ่นกับตัวเองมาตลอดว่าต้องลงมือทำอย่าเอาแต่พูด ขึ้นปีใหม่ 2018 นี้ตั้งใจว่าต้องทำให้ได้ แม้นจะแค่เดือนละบทความก็ยังดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย Continue reading
CBN
เป็นชื่อเรียกย่อๆของ Cubic Boron Nitride ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการสังเคราะห์ โดยยึดเอาโครงสร้างของเพชรที่แข็งที่สุดในโลกมาใช้ ด้วยการแทนที่อนุภาค carbon ในโครงสร้างด้วย Boron และ Nitrogen แทน ทำให้กลายเป็นวัสดุที่มีความแข็งรองลงมาแค่เพชรเท่านั้น แถมวัสดุ CBN นั้น ยังเหนือกว่าเพชรตรงที่คุณสมบัติ ทาง Physical Properties จะไม่เปลี่ยนแปลงงานเมื่อเจออุณหภูมิสูงๆ ซึ่งเพชรนั้นสามารถทนความร้อนได้ไม่เกิน 700 ºC ในขณะที่ CBN ยังสามารถคงค่าความแข็งได้แม้นอุณหภูมิจะสูงถึง 1000ºC ทำให้ CBN เหมาะกับการเอามาตัดวัสดุที่มีความแข็งสูงได้ดี (HRC45-65) Continue reading