เรื่องของร่องหักเศษ Chip Breaker

เรามาต่อกันกับตัวอักษรชุดสุดท้ายของรหัสเม็ดมีด ISO ที่เป็นตัวระบุประเภทของร่องคายเศษ (Chip Breaker) ถ้าแปลให้ตรงตัวเลย Chip ก็คือเศษจากการกลึง ไส ส่วน Breaker คือ การหัก สรุปรวมความเป็น การหักเศษที่เกิดจากการกลึง ไส (ต่อไปจะเรียก ร่องคายเศษ) ซึ่งมีจุดประสงค์ เพื่อช่วยหักเศษที่เกิดจากการตัดเฉือนวัสดุ บางวัสดุอย่างเหล็กเหนียว ถ้าเป็นหน้ามีดเรียบๆ เศษที่ได้จากการกลึงก็จะไหลยาวไม่หัก จนไปพันชิ้นงาน และสะบัดจนสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้

Continue reading

รหัสเม็ดมีดมาตรฐาน ISO #2

มาต่อตอนที่สองของเรื่องรหัสเม็ดมีดกันเลยครับ เราๆท่านๆแม้นจะคุ้นชินกับการ เรียกรหัสเม็ดมีดนี้กันบ่อยๆ แต่อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายลึกซึ้งพอ ในตอนที่แล้วได้อธิบายไปถึงส่วนของตัวอักษรทั้ง 4 ที่อธิบายภาพรวมให้เราได้เห็นลักษณะของรูปทรงเม็ดมีด ไม่ว่าจะเป็นรูปทรงอะไร มีดบวกหรือลบ มีลายร่องหักเศษไหม มีรูไหม แถมด้วยความละเอียดของการคุมขนาดเม็ดมีด ในส่วนครึ่งหลังนี้จะเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งแน่นอนก็น่าจะเป็นการอธิบายความให้เห็นถึงขนาดของเม็ดมีด เรามาดูไปพร้อมๆกันดีกว่าครับ

Continue reading

รหัสเม็ดมีดมาตรฐาน ISO #1

จากที่เราได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงของเม็ดมีดมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปทรงเม็ดมีดสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงด้านข้าง ที่เราเรียกกันว่าเม็ดมีดบวก(มีมุมหลบ) หรือเม็ดมีดลบ และอีกมากมายที่ได้รู้กันไปแล้วบ้าง ทั้งหมดก็จะปรากฏอยู่ในรหัส ISO ของเม็ดมีดที่ผู้ผลิตเม็ดมีดงานกลึงทุกเจ้าทำข้อตกลงร่วมกันไว้ วันนี้เราจึงจะมาเรียนรู้กันเรื่องการอ่านรหัส ISO ของเม็ดมีด ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบได้คร่าวๆว่าการใช้เม็ดมีดนั้นถูกต้องในเบื้องต้นแค่ไหน

Continue reading

รูปทรงของเม็ดมีดงานกลึง

ช่วงสถานการณ์ COVID-19 แต่ละอุตสาหกรรมเหมือนถูกโคขวิดตามๆกันไป แต่ก็ทำให้หลายๆคนเริ่มมีเวลาทบทวนสิ่งที่ตนเองทำมาในแต่ละวันที่เร่งรีบ ว่ามีอะไรที่น่าจะปรับเปลี่ยน อะไรที่น่าจะเพิ่มเติม หรืออะไรที่ไม่น่าจะทำมันต่อ บทความแนววิชาการอันนี้ เริ่มจากที่อยากจะทำ แล้วตามมาด้วยเหตุผลมากมายที่ยกมาอ้างเพื่อไม่ทำต่อ ทั้งด่าทอตัวเองไปแล้วก็หลายครั้งให้ทำๆ เมื่อย้อนไปดูสถิติการเข้าถึงของบทความเก่าๆที่เขียน ปรากฎว่ามีผู้คนเข้ามาเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ไปโปรโมทอะไรเลย นอกจากเขียนในสิ่งที่รู้ เพื่อให้ทุกคนในรู้ในสิ่งที่เขียน จึงเกิดแรงฮึดใหม่ ตั้งใจว่าช่วงโคขวิดนี้ จะเขียนให้ได้อย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 บทความ เพื่อเปลี่ยนนิสัยตนเองให้สามารถเขียนแบบสม่ำเสมอไปได้ตลอดในอนาคต

Continue reading

เพิ่มเติมกับมุมมน R

เมื่อตอนที่แล้ว เราได้เห็นถึงความสัมพันธ์ของมุมมน กับความเรียบผิว ถ้ามุมมนใหญ่ก็จะได้ผิวเรียบ มุมมน R ก็คือจุดที่จะไปสัมผัสกับชิ้นงานตอนตัดขึ้นรูป มุมมน R เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เราจะต้องกำหนดเลือกขึ้นมาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทการใช้งาน และวัสดุชิ้นงาน ดังนั้นการเข้าใจความสัมพันธ์ของมุมมน R กับปัจจัยต่างๆ เป็นสิ่งที่เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันครับ

Continue reading

มุมมน R (Nose Radius)

maxresdefault.jpg

ตอนที่แล้วเราพูดกันถึงความเรียบผิว และระหว่างนั้นก็มีปัจจัยตัวหนึ่งปรากฏออกมาว่ามีผลกับความเรียบผิว อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยนั้นก็คือ มุมมน R (Nose Radius) วันนี้เราก็จะมาเรียนรู้กันว่ามุมมน R คืออะไร และมีผลกับการกลึงในแง่มุมต่างๆมากน้อยขนาดไหน

Continue reading

ความเรียบผิวงาน

20151228_064105.jpgวันนี้เรามารู้จักความเรียบผิวกัน ต่อเนื่องมาจากอัตราป้อนมีดที่พูดถึงการกลึงหยาบและละเอียด ถ้าเราเอาแบบง่ายๆก็คือเวลาเรากลึงหยาบๆ มันก็น่าจะได้ผิวที่หยาบๆ ซึ่งก็ตรงข้ามกับการกลึงละเอียดก็ได้ผิวงานที่เรียบสวย แต่ถ้าจะลงลึกๆในรายละเอียดก็ติดตามอ่านดูนะครับ Continue reading

ปัจจัยการกลึง (อัตราป้อนมีด และระยะกินลึก)

เราได้รู้ปัจจัยตัวแรกคือความเร็วตัดไปแล้ว วันนี้เรามาแบบแพ็คคู่ เพราะว่าปัจจัยทั้งสองตัวนี้มักมาคู่กัน แบบไม่ได้บังคับ นั่นคืออัตราป้อนมีด และระยะกินลึก ซึ่งจะผูกโยงไปถึงการกลึงหยาบและกลึงละเอียด จาก ตัวเลขของทั้ง 2 ปัจจัยนี้ เรามาดูกันครับว่าคืออะไร Continue reading

ปัจจัยการกลึง (ความเร็วตัด)

16708190_1862971250658890_4790770874484688260_n

ภาพจาก http://www.storylog.co

สวัสดีปีใหม่ครับเพื่อนๆ ผมได้ห่างหายไปนานกับการเขียนบทความเรื่องเครื่องมือตัด เพราะพอจะลงมือทำก็เหมือนมีอะไรมาขวางให้ต้องหยุด นั่งพูดพร่ำบ่นกับตัวเองมาตลอดว่าต้องลงมือทำอย่าเอาแต่พูด ขึ้นปีใหม่ 2018 นี้ตั้งใจว่าต้องทำให้ได้ แม้นจะแค่เดือนละบทความก็ยังดีกว่าไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย  Continue reading

CBN

Screen Shot 2559-02-14 at 1.40.43 PMเป็นชื่อเรียกย่อๆของ Cubic Boron Nitride ซึ่งเป็นวัสดุที่เกิดจากการสังเคราะห์ โดยยึดเอาโครงสร้างของเพชรที่แข็งที่สุดในโลกมาใช้ ด้วยการแทนที่อนุภาค carbon ในโครงสร้างด้วย Boron และ Nitrogen แทน ทำให้กลายเป็นวัสดุที่มีความแข็งรองลงมาแค่เพชรเท่านั้น แถมวัสดุ CBN นั้น ยังเหนือกว่าเพชรตรงที่คุณสมบัติ ทาง Physical Properties จะไม่เปลี่ยนแปลงงานเมื่อเจออุณหภูมิสูงๆ ซึ่งเพชรนั้นสามารถทนความร้อนได้ไม่เกิน 700 ºC ในขณะที่ CBN ยังสามารถคงค่าความแข็งได้แม้นอุณหภูมิจะสูงถึง 1000ºC ทำให้ CBN เหมาะกับการเอามาตัดวัสดุที่มีความแข็งสูงได้ดี (HRC45-65)  Continue reading